เพราะ “Freediving” ไม่ใช่แค่กีฬาหรืองานอดิเรก แต่เป็นการเดินทางค้นพบขีดจำกัดของตัวเอง ทั้งทางร่างกายจิตใจ ท้าทายให้เอาชนะความกลัว ฝึกฝนสมาธิ และสัมผัสกับธรรมชาติอย่างใกล้ชิดที่สุด ดังนั้น สำหรับใครที่อยากเรียนรู้เสน่ห์ของการดำน้ำ Freediving บทความนี้จะมาเป็นคู่มือช่วยอธิบายแบบครบจบกระบวนความ เรียกได้ว่าอ่านจบพร้อมจัดกระเป๋า กดจองที่พักสุราษฎร์ธานี หนึ่งในจังหวัดที่ขึ้นชื่อเรื่องแหล่ง ดำน้ำ Freediving ที่สุด ผ่าน Traveloka แอปฯ จองตั๋วเครื่องบินและที่พักราคาดี แล้วไปสัมผัสเสน่ห์โลกใต้ทะเลได้เลย
Freediving คืออะไร ?
การดำน้ำ Freediving หรือดำน้ำแบบอิสระ คือกิจกรรมที่รวมทั้งความเป็นกีฬากับศิลปะเข้าไว้ด้วยกัน โดยผู้ดำน้ำจะต้องกลั้นหายใจและดำลงไปใต้น้ำโดยไม่ใช้ถังอากาศหรืออุปกรณ์ช่วยหายใจใด ๆ ทั้งสิ้น เรียกได้ว่าเป็นรูปแบบการดำน้ำที่ธรรมชาติที่สุด ซึ่งมนุษย์ได้ปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยโบราณ ไม่ว่าจะเพื่อหาอาหาร สำรวจ หรือแม้แต่การทำสงคราม ก่อนที่ในปัจจุบันการดำน้ำ Freediving จะได้พัฒนาเป็นทั้งกีฬาแข่งขันและกิจกรรมที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยความท้าทายและความรู้สึกเป็นอิสระที่หาไม่ได้จากการดำน้ำแบบอื่น
ประโยชน์ของการดำน้ำ Freediving
เสริมสร้างสมรรถภาพปอดและระบบหายใจ: การฝึกกลั้นหายใจอย่างถูกวิธีช่วยเพิ่มความจุปอดและประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนก๊าซ
เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ: โดยเฉพาะส่วนขาและแกนกลางลำตัว เนื่องจากการเคลื่อนที่ใต้น้ำต้องใช้กล้ามเนื้อทั่วร่างกาย
ฝึกสมาธิและการควบคุมจิตใจ: การอยู่ใต้น้ำเป็นเวลานานต้องอาศัยทั้งสมาธิและการควบคุมจิตใจอย่างมาก
สัมผัสประสบการณ์ใต้น้ำอย่างใกล้ชิดกับธรรมชาติ: ไม่มีเสียงฟองอากาศรบกวน ทำให้สามารถเข้าใกล้สัตว์น้ำได้มากกว่าการดำน้ำรูปแบบอื่น
เป็นทักษะที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมทางน้ำอื่น ๆ ได้: เช่น การเล่นกีฬาทางน้ำ หรือแม้แต่การช่วยเหลือตัวเองในสถานการณ์ฉุกเฉิน
อุปกรณ์พื้นฐานสำหรับ Freediving
แม้ว่าการดำน้ำ Freediving จะเป็นการดำน้ำแบบอิสระ แต่ผู้ทำกิจกรรมก็ควรที่จะมีอุปกรณ์พื้นฐานบางอย่างติดตัวไว้ ทั้งเพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการดำน้ำ ได้แก่:
หน้ากากดำน้ำ (Mask): ช่วยให้มองเห็นใต้น้ำได้ชัดเจน โดยควรเลือกแบบที่มีเลนส์กว้างเพื่อการมองเห็นที่กว้างขึ้น
ท่อหายใจ (Snorkel): ใช้หายใจขณะลอยตัวบนผิวน้ำ เหมือนกับการดำน้ำแบบ Skorkel
ชุดดำน้ำ (Wetsuit): ช่วยรักษาอุณหภูมิร่างกายและป้องกันการบาดเจ็บจากสิ่งแวดล้อมใต้น้ำ
ตีนกบ (Fins): เพิ่มประสิทธิภาพการเคลื่อนที่ใต้น้ำ โดยสำหรับ Freediving นิยมใช้ตีนกบแบบยาวเพื่อแรงขับเคลื่อนที่มากขึ้น
เทคนิคพื้นฐานในการ Freediving
1. การหายใจเตรียมตัว (Breathing Techniques)
การหายใจที่ถูกต้องเป็นหัวใจสำคัญของการดำน้ำ Freediving โดยเทคนิคที่นิยมใช้คือ:
การหายใจแบบท้อง (Diaphragmatic Breathing): หายใจลึก ๆ โดยใช้กล้ามเนื้อกะบังลม ทำให้ท้องป่องออกขณะหายใจเข้า และแฟบลงขณะหายใจออก
การหายใจแบบผ่อนคลาย (Relaxation Breathing): หายใจเข้าช้า ๆ นาน 4 วินาที กลั้นไว้ 2 วินาที แล้วค่อย ๆ หายใจออกนาน 8 วินาที
2. เทคนิคการดำน้ำ
การดำแบบหัวลง (Head-First Dive): เหมาะสำหรับการดำลึก โดยใช้แรงจากแขนและขาในการพุ่งตัวลงไป
การดำแบบเท้าลง (Feet-First Dive): เหมาะสำหรับการสำรวจพื้นที่ใกล้ผิวน้ำ หรือเมื่อต้องการความระมัดระวังเป็นพิเศษ
3. การปรับความดัน (Equalization)
เมื่อดำลึกลงไป ความดันน้ำจะเพิ่มขึ้น วิธีดําน้ำ Freediving ที่ควรทำในขั้นนี้คือการปรับความดันในหูชั้นกลางเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ โดยเทคนิคที่นิยมมีดังนี้:
วิธี Valsalva: ปิดจมูกแล้วเป่าลมออกทางจมูกเบา ๆ
วิธี Frenzel: ใช้ลิ้นดันอากาศไปที่โพรงจมูก
4. การผ่อนคลายใต้น้ำ
การผ่อนคลายช่วยประหยัดออกซิเจนและทำให้ดำได้นานขึ้น:
ปล่อยกล้ามเนื้อให้ผ่อนคลาย
จดจ่อกับการเคลื่อนไหวและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น
ขั้นตอนการ Freedive สำหรับมือใหม่
เตรียมความพร้อม: ศึกษาวิธีดําน้ำ Freedivingที่ถูกต้องควรเริ่มจากการตรวจสอบอุปกรณ์และสภาพร่างกายให้มีความพร้อมสูงสุด
อบอุ่นร่างกาย: ยืดเหยียดกล้ามเนื้อและทำการหายใจเตรียมตัว
ลอยตัวบนผิวน้ำ: ใช้ท่อหายใจเพื่อผ่อนคลายและสำรวจสภาพแวดล้อม
หายใจเตรียมตัว: ใช้เทคนิคการหายใจที่ได้ฝึกฝนมา
ดำน้ำ: เลือกวิธีดำน้ำที่เหมาะสมกับสถานการณ์
สำรวจใต้น้ำ: เคลื่อนที่อย่างช้า ๆ เน้นการประหยัดพลังงานเป็นสำคัญ เพื่อให้อยู่ใต้น้ำได้นานที่สุด
กลับขึ้นสู่ผิวน้ำ: ขึ้นอย่างช้า ๆ สม่ำเสมอ ป้องกันไม่ให้ร่างกายปรับความดันไม่ทัน
พักฟื้น: หายใจปกติบนผิวน้ำอย่างน้อย 2 เท่าของเวลาที่อยู่ใต้น้ำ
ข้อควรระวังและความปลอดภัย
อย่าดำน้ำคนเดียว: ควรมีคู่ดำน้ำ (Buddy) คอยดูแลซึ่งกันและกันเสมอ
รู้จักขีดจำกัดของตัวเอง: อย่าฝืนดำลึกหรือนานเกินไป โดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้น
ระวังการเกิดภาวะ Blackout: เป็นการหมดสติเนื่องจากสมองขาดออกซิเจน มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งตอนที่กำลังขึ้นสู่ผิวน้ำ ที่ผิวน้ำ หรืออยู่ในน้ำลึก
ไม่ควร Hyperventilate: การหายใจเร็วและแรงเกินไปก่อนดำน้ำอาจทำให้เกิดอันตรายได้
เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ: การเข้าคอร์สฝึกอบรมจากผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้ได้เรียนรู้วิธีดําน้ำ Freediving ที่ถูกต้องและปลอดภัย
ถ้าคุณชื่นชอบความท้าทายและหลงใหลในเสน่ห์แห่งท้องทะเล การดำน้ำ Freediving คือประสบการณ์ที่ควรลองสักครั้งในชีวิต โดยหนึ่งในทำเลที่ดีที่สุดของการ Freediving อยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยสามารถจองตั๋วเครื่องบิน รวมถึงที่พักสุราษฎร์ธานีผ่าน Traveloka แอปฯ จองตั๋วเครื่องบินและที่พักราคาดีไว้ให้คุณแบบครบครันได้เลย แพลนทริปได้ครบจบในที่เดียวแล้วออกไปสัมผัสประสบการณ์ที่น่าประทับใจไม่รู้ลืมด้วยตัวเองได้เลย ดาวน์โหลดแล้วเริ่มต้นใช้งานได้ฟรีทั้งระบบ iOS และ Android
How To Start Freediving – A Guide For Beginners สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567 จาก https://weareexplorers.co/beginners-guide-freediving/